วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ระบบรักษาความเร็วอัตโนมัติ Active Cruise Control


ระบบ Cruise Control ใช้ในการล็อคความเร็วให้รถวิ่งเองโดยไม่ต้องเหยียบคันเร่ง
ประกอบด้วย 3 ปุ่ม คือ
1. ปุ่ม Cruise Control On/Off อยู่ที่คอนโซลด้านขวาของพวงมาลัย
2. ปุ่ม Set อยู่ที่พวงมาลัย
3. ปุ่ม Resume อยู่ที่พวงมาลัย

วิธีใช้
1. กดปุ่ม Cruise Control ที่คอนโซลด้านขวาของพวงมาลัย ที่ปุ่มจะมีไฟสีเขียว แสดงว่า
ระบบ Cruise Control พร้อมจะใช้งานแล้ว
2. เหยียบคันเร่งให้ได้ความเร็วระดับที่ต้องการ
3. กดปุ่ม Set ที่พวงมาลัย (แช่ไว้ประมาณ 2 วินาที) ระบบจะทำการล็อคความเร็วไว้ ทำให้
รถวิ่งไปด้วยความเร็วคงที่ตลอด แม้ว่าเราจะไม่ได้เหยียบคันเร่งก็ตาม สังเกตที่หน้าปัด จะมี
ไฟสถานะสีเขียวว่า Cruise Control สว่างขึ้นมา

วิธียกเลิกระบบ ทำได้ 2 วิธี
1. เหยียบเบรค เมื่อเราเหยียบเบรค ระบบ Cruise Control จะถูกยกเลิกโดยอัตโนมัติ
สังเกตุว่าไฟสถานะที่หน้าปัดจะดับไป แต่หากเราต้องการให้ระบบ Cruise Control
กลับมาทำงานตามเดิม ก็แค่กดปุ่ม Resume ที่พวงมาลัย แค่นี้รถก็จะกลับมาวิ่งด้วย
ความเร็วเดิมที่เราล็อคไว้โดยที่เราไม่ต้องเหยียบคัน เร่งเลย
2. กดปุ่ม Cruise Control ที่อยู่บนคอนโซล ปุ่มจะเด้งกลับขึ้นมา พร้อมกับไฟเขียวที่ปุ่ม
และไฟสถานนะที่หน้าปัดจะดับลง ระบบก็จะถูกยกเลิกไปด้วย ซึ่งหากเราต้องการให้ระบบ
Cruise Control กลับมาทำงานตามเดิม ก็ต้องตั้งระบบใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนที่ 1

***ขณะที่ระบบ Cruise Control ทำงาน สามารถเร่งความเร็วได้ปกติโดยการเหยียบคันเร่ง
และเมื่อปล่อยคันเร่ง ความเร็วก็จะกลับมาคงที่เท่ากับที่เรา Set เอาไว้.





Active Cruise Control (อีกขั้นของระบบ  Cruise Control) ระบบควบคุมความเร็วแบบปรับอัตโนมัติด้วยเรดาร์ (Radar-Based Adaptive Cruise Control System) ซึ่งทำงานขณะที่รถวิ่งเข้าใกล้รถด้านหน้าด้วยความเร็วสูงเกินไป รถจะส่งสัญญาณเตือนด้วยไฟ LED เพื่อให้ผู้ขับรู้ตัวและเบรกได้ทัน และในกรณีที่ผู้ขับไม่สามารถเบรกได้ทัน ระบบจะทำการเบรกอัตโนมัติ เพื่อลดความเสียหายและหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุทันที เหมาะสำหรับการเดินทางไกลไปบนถนนที่โล่ง ปราศจากปัญหาเรื่องรถติด แต่ปัจจุบันปัญหารถติดได้ลุกลามไปทั่วทุกหนแห่ง ไม่เว้นแม้กระทั่งบนทางด่วน  ซึ่งทำให้ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติใช้งานได้ค่อนข้างจำกัด  จึงได้มีการคิดค้น ระบบ Adaptive Cruise Control ที่ทำงานร่วมกับระบบ Adaptive Brake Assist สามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ ซึ่งมีอยู่ในรถระดับสูงๆ เช่น BMW, Volvo, Audi เป็นต้น
ระบบ Active Cruise Control ทำงานด้วยระบบเรดาร์ตรวจจับสิ่งกีดขวางข้างหน้า 3 ชุด ชุดแรกจะทำการตรวจจับในระยะไกล โดยครอบคลุมพื้นที่ในระยะ 150 เมตร อีก 2 ชุดครอบคลุมพื้นที่ระยะใกล้ หรือประมาณ 20 เมตร และส่งสัญญาณไปยังกล่องควบคุมตลอดเวลาที่มีการใช้งานระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ แม้ว่าจะมีการใช้ความเร็วในระดับ 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมงการทำงานของระบบก็ยังไว้ใจได้ในทันทีที่พบว่าความเร็วของรถคันหน้าถูกลดลง ระบบควบคุมจะสั่งการให้ลดความเร็วลงตามโดยอัตโนมัติ ซึ่งอาจจะเป็นการถอนคันเร่ง ลดเกียร์ต่ำลง หรือเพิ่มแรงเบรกเข้าไปเพื่อชะลอความเร็วลงแต่ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่รถคันหน้ามีการใช้เบรกฉุกเฉินและกะทันหันจนความเร็วลดลงในระดับที่วิกฤติ ก็จะมีเสียงและสัญญาณเตือนแสดงขึ้นมาเพื่อให้ผู้ขับขี่ได้ใช้เบรกด้วยตนเอง
       นอกจากนี้ในระบบเสริมแรงเบรกอัตโนมัติ ยังมีฟังก์ชันพร้อมการทำงานเมื่อไม่ได้ใช้ระบบ Cruise Control  โดยทันทีที่ผู้ขับขี่ยกเท้าจากแป้นเบรกเมื่อมีเสียงเตือนระยะห่างจากรถคันหน้าอยู่ในขั้นวิกฤติระบบเบรกเสริมจะเริ่มทำงานก่อนที่ผู้ขับขี่จะแตะเบรกด้วยซ้ำ ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดช่วงเวลาในการเปลี่ยนเท้าจากคันเร่งมาที่บรกให้น้อยที่สุดเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้มากยิ่งขึ้น  แต่ถ้าเป็นเหตุการณ์ที่สุดวิสัย ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการชนกระแทกได้ ระบบ Adaptive Brake Assist ก็จะช่วยลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บให้มากที่สุด นับตั้งแต่การลดความเร็วในการชนให้ต่ำสุด มีการตระเตรียมระบบป้องกันการชนกระแทกให้พร้อมเช่นเข็มขัดนิรภัยที่รัดรั้งร่างกายของผู้ขับขี่และผู้โดยสารเอาไว้ล่วงหน้า การเตรียมพร้อมสำหรับการทำงานของถุงลมนิรภัยเป็นต้น.



วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การอุดระบบ EGR ในรถ Desel


EGR คือท่อไอเสียที่นำพาไอเสียที่เผาไหม้แล้วกลับมาเผาไหม้ใหม่อีกครั้ง.


  ระบบ EGR เป็นการนำไอเสียมาวนเข้าท่อไอดีใหม่อีกครั้ง เพื่อที่จะลดค่า NOX เพื่อให้ผ่านมาตรฐาน ยูโร 3 ซึ่งถ้าไม่ผ่านรถจะไม่สามารถนำออกมาขายได้
  ปัญหา คือ คนไทยใช้รถไม่เหมือนคนญี่ปุ่น ใช้ไม่ถึงกี่หมื่น Km หรือไม่เกินแสน Km ก็เปลี่ยนหรือทิ้งกันแล้ว แต่คนไทยส่วนใหญ่ใช้มือหนึ่งก็เกินไปเป็นแสน Km แล้วยังมีใช้ต่อเนื่อง มือสอง,สาม,สี่ อีก ไอเสียที่วนกลับเข้าไปไอดีนั้นมีเขม่า ซึ่งจะมาสะสมทำให้เครื่องโทรมในระยะยาว หัวฉีดตันเร็ว มีควันดำ และราคาค่าซ่อมหัวฉีดไม่ถูกอีกด้วย หลายคนคิดว่าจะตัดระบบนี้ บ้างก่ใช้ลูกปืน บ้างก่ดึงปลั๊กออก ซึ่งอาจทำให้ระบบรวนได้ (ไฟเตือนเครื่องโชว์) จนมีการคิดค้นแผ่นอุดขึ้นมาเพื่อตัดระบบ EGR แบบไม่ต้องยุ่งกับระบบสายไฟและการทำงานของกล่อง ECU ที่นี้ไอเสียก่จะวนเข้ามาเผาไหม้ได้ใหม่

  ผลดีที่ตามมาจากการอุด EGR : ไอเสียปล่อยออกปลายท่อหมด แล้วยังทำให้อากาศที่เข้าไปเผาใหม้บริสุทธิ์กว่าเดิม เป็นผลให้บู๊ตเทอร์โบมาไวขึ้น แรงบิดรอบต่ำดี เวลาเร่งไม่ต้องลากให้เปลืองน้ำมัน เขม่าสะสมน้อยลงหรือแทบไม่มี น้ำมันเครื่องดำช้าลง ลิ้นปีกผีเสื้อสกปรกช้าลงมากๆ และช่วยยืดอายุหัวฉีดอีกด้วย เพราะหัวฉีดดีเซลอยู่ในห้องเผาไหม้และรูเล็กมาก โดยเฉพาะเครื่องคอมมอลเรว โดนเขม่าพอกมากๆตันไวขึ้นแน่นอน

  ผลเสียของของการอุด EGR : มีอยู่ข้อเดียวคือทำให้โลกร้อนขึ้น จากปริมาณไอเสียที่ปล่อยออกมามีมากขึ้นกว่าเดิม แต่เป็นเพือจำนวนเล็กน้อย (ตามทฤษฎี)



 ภาพลิ้นไอดี ระยะ 100,000 Km โดยประมาณ ของรถที่ไม่ได้อุดEGR : 





ค่าอุด EGR โดยประมาณ :
-Vigo, Tiger, Fortuner, Commuter : 350 บาท
-D-Max รุ่น di : 300 บาท, รุ่น ddi : 500 บาท, รุ่น VGS : 700 บาท
-Chevrolet : 500 บาท
-Ford Ranger ก่อนคอมมอลเรล : 300 บาท, Ford คอมมอลเรล : 500 บาท
-Mazda BT-50 : 500 บาท
-Triton, Pajero : 500 บาท
-Navara : 250 บาท



  เนื้อหาโดยลึก : ผลเสียจากการอุด EGR ที่ว่าทำให้โลกร้อนขึ้นนั้น โดยลึกๆแล้วรถที่อุด EGR จะปล่อยไอเสียเยอะกว่ารถที่ไม่อุดแน่นอน แต่หลังจากนั้นรถที่ไม่อุด EGR จะปล่อยไอเสียออกมามากกว่ารถที่อุดเสียอีก เนื่องจากไอเสียไปอุดตันที่หัวฉีด ทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ รถปล่อยควันดำมากขึ้น ค่าไอเสียเยอะขึ้น  รถพังเร็วขึ้น ค่าบำรุงรักษามากขึ้น และเปลี่ยนรถใหม่เร็วกว่าที่ควร จะเป็นปัญหาค่าใช้จ่าย และปัญหาโลกร้อนเพิ่มขึ้นไปอีก...


Thanks : http://www.VigoE-sanShop.com - ช่างปาน ขอนแก่น.

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

กล่องแต่งคอมมอนเรล กล่องเพิ่มแรงม้า กล่องเพิ่มแรงบิด

   เครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล ล้วนแล้วแต่ถูกออกแบบให้ควบคุมโดยระบบคอมพิวเตอร์ หรือ ECU การที่เราจะทำให้เครื่องยนต์ของเรามีสมรรถนะที่ดีขึ้น นอกจากการเปลี่ยนอุปกรณ์บางตัว หรือจะไม่เปลี่ยนก็ตาม ต้องพึ่งพาอุปกรณ์เหล้่านี้.

  "กล่องแต่ง" มีหลากหลายประเภทหลายยี่ห้อ ทำออกมาโดยวัตถุประสงค์คือ เพิ่มกำลังและสมรรถนะของเครื่องยนต์โดยอาศัยการแปลงสัญญาณหรือโปรแกรมทางอิเลคทรอนิกส์ให้มีค่าต่างไปจากโปรแกรมเดิมของโรงงาน ซึ่งมีผลต่อการทำงานของอุปกรณ์ของเครื่องยนต์ แล้วแต่ว่าออกแบบมาให้ไปควบคุมส่วนไหน ทำให้เครื่องยนต์มีกำลังมากขึ้น แรงขึ้น ส่วนใหญ่แล้วก็จะไม่พ้นการเพิ่ม ปริมาณแรงดันในระบบการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ อันได้แก่อากาศ และ/หรือน้ำมันเชื้อเพลิง (ถ้าในเครื่องยนต์เบนซินก็จะมีส่วนที่เกี่ยวกับระบบไฟจุดระเบิดด้วย)

- กล่องดันราง คือ การเพิ่มแรงดันในระบบคอมมอนเรล ซึ่งทำได้โดยการแปลงสัญญาณ ECU ที่ควบคุมในส่วนของปั๊มเชื้อเพลิงให้ปั๊มสร้างแรงดันในระบบที่สูงขึ้นกว่าเดิม

- กล่องยกหัวฉีด คือ การแปลงสัญญาณขยายระยะเวลาในการยกตัวของเข็มหัวฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ทำให้ฉีดได้ในปริมาณที่มากขึ้นใน 1 จังหวะการทำงาน ทำให้สามารถควบคุมปริมาณเชื้อเพลิงตามต้องการได้

- การปลดบูสท์ คือ การปลดล็อคสัญญาณการตรวจจับแรงดันอากาศในท่อร่วมไอดี ให้สามารถทำแรงดันได้เกินค่าที่กำหนดโดยที่เครื่องไม่ถูกสั่งตัดเชื้อเพลิง

- การปลดล็อคความเร็ว คือ การปลดล็อคสัญญาณลิมิตของความเร็วรถให้วิ่งได้เกินค่าที่โรงงานล็อคเอาไว้

- การปลดล็อคคันเร่งไฟฟ้า คือ การแปลงสัญญาณของตัวคันเร่งไฟฟ้า ให้ตอบสนองได้ไวขึ้น มีการหน่วงน้อยลงหรือไม่มีเลย

- การสร้างกล่องควบคุมเครื่องยนต์ขึ้นมาใหม่ (Stand Alone) วิธีนี้คือการใช้กล่องแต่งแบบที่สามารถควบคุมได้ทุกส่วนของเครื่องยนต์มาควบคุมแทนกล่องโรงงานล้วนๆ ส่วนมากนิยมใช้ในการแข่งขัน
   กล่องแต่งที่เราเห็นกันหลายยี่ห้อ หลายแบบ ก็มีทั้งทำออกมาแบบกล่องเดียวครบวงจร หรือมีหลายฟังก์ชั่น หรืออย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ และส่วนมากแล้วการออกแบบโปรแกรมของผู้ผลิตกล่องแต่ละค่าย ต่างก็ทำให้สามารถทำการเซ็ทค่าของโปรแกรมให้แตกต่างกันไปได้ตามแต่ที่ลูกค้าต้องการ ซึ่งทั้งลูกค้าและผู้ติดตั้งกล่องหรือเรียกกันว่า "มือจูน" ต้องเลือกใช้กล่องแต่งและโปรแกรมการจูนให้เหมาะสมกับการใช้งาน และอุปกรณ์ที่ไปติดตั้งเพิ่มหรือเปลี่ยนใหม่อย่างที่กล่าวมาข้างต้นครับ เพื่อให้การทำงานของเครื่องยนต์แรง และสเถียร สมบูรณ์ที่สุด.

ข้อมูลลึกๆ

  การดันราง คือ การเพิ่มแรงดันในระบบฉีดจ่ายน้ำมันแบบคอมมอนเรล หรือภาษาไทยๆเรียกว่า แบบรางฉีดร่วม ซึ่งโดยปกติ ปั๊มคอมมอนเรลจะมีหน้าที่ปั่นและอัดส่งสร้างน้ำมันที่มีแรงดันสูงมากๆไปยังรางคอมมอนเรลเพื่อรอจ่ายน้ำมันไปยังหัวฉีด ซึ่งเมื่อทำการติดตั้งกล่องดันรางเข้าไป กล่องตัวนี้จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณให้ปั๊มสร้างแรงอัดน้ำมันได้สูงขึ้นกว่าเดิม แรงดันในระบบจึงสูงขึ้น ฉีดน้ำมันได้แรงกว่าเดิม การเผาไหม้จึงดีขึ้น ส่งผลให้รถแรงขึ้น แต่ไม่ได้ทำให้จ่ายน้ำมันมากขึ้น เพราะหัวฉีดก็ยังคงฉีดจ่ายน้ำมันเป็นปริมาณเท่าเดิม ใน 1 จังหวะรอบการทำงาน แต่เมื่อรถมีกำลังมากขึ้น ทั้งแรงม้าและแรงบิดจากการดันรางนี้ เมื่อเราขับขี่ในสไตล์เดิม ที่ความเร็วเท่าๆเดิม จะได้ความประหยัดมากกว่าเพราะแรงบิดรถดีขึ้น อัตราเร่งทำได้ดีกว่าเดิม จึงไม่ต้องเค้นคันเร่งมาก.

ประโยชน์ของการดันราง
1. เพิ่มแรงม้า ขั้นต่ำ 30 ตัวขึ้นไป และแรงบิด ขั้นต่ำ 30% ขึ้นไป แล้วแต่ระดับการจูน และการเสริมชิมท้ายราง เช่น 2-5 มิล หรืออุดท้ายราง (อุดท้ายรางแรงม้าเพิ่มขึ้น 60 ตัวขึ้นไปแน่นอน)
2. ประหยัดน้ำมันขึ้น ถ้าผู้ขับขี่ขับขี่ในสไตล์รถเดิม ไม่กระแทกคันเร่งแรงๆ และจะประหยัดขึ้นมากถ้าผู้ขับขี่เปลี่ยนเกียร์สัมพันธ์กับรอบเครื่องยนต์
3. รถมีกำลังแรงบิดมากขึ้นกว่าเดิม เหมาะสำหรับพวกบรรทุกหนักๆ
4. ลดการรอรอบอย่างเห็นได้ชัด
5. เพิ่มความเร็วปลาย เช่น รถเดิมวิ่ง 160กม./ชม. หลังจากการปรับจูนแล้ว 180-200กม./ชม. หรืออาจมากกว่า (อยู่ที่ระดับการจูน)

ข้อเสียของการดันราง
1. การปรับแต่งรถใดๆก็แล้วแต่ย่อมทำให้เกิดการสึกหรอที่มากขึ้น (ขึ้นอยู่ระดับการจูนว่ามากน้อยเพียงใด และระดับการขับขี่)
2. จะเปลืองน้ำมันขึ้น ถ้าผู้ขับขี่ กระแทกคันเร่งบ่อยๆ และใช้ความเร็วสูง เช่น นำไปแข่งขัน 

  การทำท้ายราง หรือ เสริมชิมท้ายราง เมื่อติดตั้งกล่องดันราง ผู้ติดตั้งนิยมมีการทำท้ายรางเพิ่มเติมด้วย เพื่อให้แมตซ์กับแรงดันที่ปรับจูน ทำให้สามารถจูนแรงดันได้มากขึ้นกว่าเดิม ป้องกันปัญหาไฟโชว์ ป้องกันเครื่องสะดุดเมื่อรอบสูงๆ
  ท้ายราง คือ อุปกรณ์ตัวนึงที่เป็นตัวลิมิตแรงดันในระบบอยู่ตรงด้านท้ายของรางคอมมอนเรล หลักการทำงานคือสปริงพร้อมลิ้นระบายแรงดัน (Pressure Regulator) ทำหน้าที่คอยระบายแรงดันในรางคอมมอนเรลที่เกินค่าที่กำหนดให้ไหลกลับ ซึ่งทำได้โดยการใส่ชิมรองเข้าไปที่สปริง ทำให้สปริงมีค่าแข็งขึ้น แรงดันระบายออกได้ช้าลง ทำให้การสร้างแรงดันในรอบสูงๆ ไม่มีปัญหาเครื่องสะดุดครับ
ส่วนเรื่องรางแตกนั้น โดยทั่วๆไป เกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะรางคอมมอนเรลมีค่า Factor เผื่อมาให้รับแรงดันได้สูงกว่าสเปคโรงงานเยอะมาก เว้นแต่จะมีการ"อุด"ท้ายรางแบบถาวร ซึ่งนิยมทำกันในรถแข่งสนาม โดยเฉพาะประเภท Drag เพราะพวกนี้ เขาจะใช้กล่องโมดิฟายใบเดียวคุมแทนกล่องเดิมของเครื่องยนต์ หรือที่เรียกว่า "Stand Alone" สำหรับรถบ้าน สบายใจได้ จะมีก็แต่กรณีท้ายรางรั่วซึ่งเกิดจากผู้ติดตั้งในบางรายติดตั้งไม่ดีเท่านั้นเอง ซึ่งสามารถแก้ไขได้ไม่ยาก โดยทำการถอดและใส่เข้าไปใหม่โดยช่างที่มีความชำนาญ

  กล่องยกหัวฉีด (Lift Injection) หลักการทำงานของกล่องเพิ่มแรงม้าแบบยกหัวฉีด สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล มีหลักการทำงานโดยการใช้กล่องอิเลคโทรนิค รับสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งมาจากกล่องควบคุมสมองกลของรถ ECU ที่ส่งไปยังหัวฉีดจ่ายน้ำมันเข้าแต่ละหัว แล้วแปลงค่าสัญญาณนั้น เพื่อสั่งให้หัวฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงมีระยะเวลาจ่ายน้ำมันให้นานขึ้น ตามจังหวะเวลาและรอบเครื่องยนต์ที่ต้องการ มีทำผลให้เครื่องยนต์ได้รับเชื้อเพลิงที่เพียงพอสำหรับการทำงานที่รอบสูงๆ หรือที่ความเร็วสูง เครื่องยนต์จึงมีแรงม้าเพิ่มขึ้น มีแรงบิดเพิ่มขึ้น ทำให้รถยนต์สามารถมีอัตราเร่งที่ดีขึ้น และมีความเร็วปลายสูงขึ้นด้วย หรืออธิบายแบบง่ายๆ คือ เพิ่มระยะเวลาในการฉีดน้ำมันแต่ละรอบเครื่องให้นานขึ้น เช่น สมมุติว่า 1รอบเครื่อง ฉีดน้ำมัน 1วินาที อาจจะเพิ่มเป็น 1.2 1.5 หรือ 2วินาที ทำให้เพียงพอต่อความต้องการ และถ้ารถยนต์ได้มีการปรับแต่งระบบอัดอากาศ หรือเปลี่ยนเทอร์โบ ที่อัดลมเข้าสู่ห้องเครื่องได้มากกว่าเดิม เช่น ของเดิม 1บาร์ หรือ14ปอนด์ แต่ได้ทำการเปลี่ยน เทอร์โบ td05h ทำลมอัดเข้าห้องเครื่องที่ 25ปอนด์ ทำให้น้ำมันจากกล่อง ecu เดิมจ่ายน้ำมันไม่เพียงพอต่ออากาศ จึงต้องเสริมกล่องยกหัวฉีดเข้าไปเพื่อเพิ่มน้ำมันให้เพียงพอต่ออากาศที่เพิ่มขึ้น

ประโยชน์ของกล่องยกหัวฉีด
1. เพิ่มแรงม้า ขั้นต่ำ 40 ตัวขึ้นไป และแรงบิด ขั้นต่ำ 50% ขึ้นไป (แล้วแต่ระดับการจูน)
2. กล่องยกหัวฉีด จะเห็นผลกว่า กล่องดันราง (แต่ถ้าทำงานร่วมกันระหว่างกล่องดันราง และกล่องยกหัวฉีด ทำให้เห็นผลชัดเจนมากขึ้น)
3. รถมีกำลังแรงบิดมากขึ้นกว่าเดิม เหมาะสำหรับพวกบรรทุกหนักๆ
4. ลดการรอรอบอย่างเห็นได้ชัด
5. เพิ่มความเร็วปลาย เช่น รถเดิมวิ่ง 160กม./ชม. หลังจากการปรับจูนแล้ว 180-200กม./ชม หรืออาจมากกว่า (อยู่ที่ระดับการจูน)
6. ในบรรดาการปรับแต่งให้รถมีพละกำลังที่เพิ่มขึ้น กล่องยกหัวฉีดเป็นตัวเลือกที่ดี เพราะว่าผลที่ได้ชัดเจน และการสึกหรอของเครื่องยนต์น้อยกว่าการทำอื่นๆ
7. มีสวิทซ์ ปิด-เปิด (บางยี่ห้อ) ทำให้สามารถปิดการใช้งานได้ ทำให้เป็นรถเดิมๆ  และสามารถเปิดใช้งานได้ทันทีขณะขับรถอยู่ก็ตาม (บางยี่ห้อ)

ข้อเสียของกล่องยกหัวฉีด
1. กล่องยกหัวฉีดจะมีราคาค้อนข้างสูงถ้าเปรียบเทียบกับกล่องชนิดอื่นๆ
2. การปรับแต่งรถใดๆก็แล้วแต่ย่อมทำให้เกิดการสึกหรอที่มากขึ้น แต่กล่องยกหัวฉีดการสึกหรอของเครื่องยนต์จะน้อยกว่ากล่องชนิดอื่นๆ (ขึ้นอยู่ระดับการจูนว่ามากน้อยเพียงใด และระดับการขับขี่)

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

Malware (Malicious Software) โปรแกรมประสงค์ร้าย

Solution มัลแวร์ (Malware) ย่อมาจาก "Malicious Software" ซึ่งหมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่มีจุดประสงค์ร้ายต่อคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ที่บุกรุกเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ และสร้างความเสียหายให้กับระบบคอมพิวเตอร์นั้นๆ และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่าย หรือระบบสื่อสารข้อมูล ไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน หรือเป็นคำที่ใช้เรียกโปรแกรมที่มีจุดประสงค์ร้ายต่อ ระบบคอมพิวเตอร์ทุกชนิดแบบรวมๆ นั่นเอง

โปรแกรมพวกนี้ได้แก่ Virus, Worm, Trojan, Adware, Spyware, Keylogger,Hack tool, Dialer, Phishing, toolbar, BHO, Joke, etc
แต่เนื่องจาก ไวรัส (Virus) คือ Malware ชนิดแรกที่เกิดขึ้นบนโลกนี้และอยู่มานาน ดังนั้นโดยทั่วไปตามข่าวหรือบทความต่างๆ ที่ไม่เน้นไป ในทางวิชาการมากเกินไป หรือเพื่อความง่าย ก็จะใช้คำว่า Virus แทนคำว่า Malware แต่ถ้าจะคิดถึงความจริงแล้วมันไม่ถูกต้อง เพราะ Malware แต่ละชนิดไม่เหมือนกันครับ

คำอธิบายของ Malware แต่ละชนิด :
Virus = แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ ในคอมพิวเตอร์โดยการแนบตัวมันเองเข้าไป แต่มันไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้ ต้องอาศัยไฟล์พาหะ
สิ่งที่มันทำคือ สร้างความเสียหายให้กับไฟล์

Worm = คัดลอกตัวเองและสามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้อย่างอิสระ โดยอาศัยอีเมลล์, ช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการหรือการเื่ชื่อมต่อที่ไม่มีการป้องกัน มันจะไม่แพร่เชื่อไปติดไฟล์อื่น
สิ่งที่มันทำคือ มักจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเครือข่าย และระบบอินเทอร์เน็ต

Trojan = ไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้้องอาศัยการหลอกคนใช้ให้ดาวน์โหลดเอาไปใส่เครื่องเอง หรือด้วยวิธีอื่นๆสิ่งที่มันทำคือ เปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาควบคุมเครื่องที่ติดเชื้อจากระยะไกล ซึ่งจะทำอะไรก็ได้ และโทรจันยังมีอีกหลายชนิด

Spyware = ไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยการหลอกคนใช้ให้ดาวน์โหลดเอาไปใส่เครื่องเอง หรืออาศัยช่องโหว่ของ Web browser และระบบปฏิบัติการในการติดตั้งตัวเองลงในเครื่องเหยื่อ
สิ่งที่มันทำคือ รบกวนและละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้

Hybrid Malware/Blended Threats = คือ Malware ที่รวมความสามารถของ
Virus, Worm, Trojan, Spyware เข้าไว้ด้วยกัน

Phishing = เป็นเทคนิคการทำ Social Engineer โดยใช้อีเมลล์เพื่อหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลการทำธุรกรรมทางการเงินบนอินเตอร์เน็ต เช่น บัตรเครดิต หรือพวก Online Bank Account

Zombie Network = เครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ จากทั่วโลกที่ตกเป็นเหยื่อของ Worm, Trojan และ Malware อย่างอื่น (Compromised Machine) ซึ่งจะถูก Attacker/Hacker ใช้เป็นฐานปฏิบัติการในการส่ง Spam Mail, Phishing, DoS หรือเอาไว้เก็บไฟล์หรือซอฟแวร์ที่ผิดกฎหมาย

Keylogger = โปรแกรมชนิดหนึ่งที่แฝงตัวเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเก็บข้อมูลการกดแป้นคีย์บอร์ด และดักเอารหัสผ่านต่างๆ เพื่อนำไปให้ผู้ไม่ประสงค์ดีนำเอาไปใช้งาน

Dialer = แอพพลิเคชั่นที่ทำงานโดยการสั่งให้โมเด็มคุณตัดการเชื่อมต่อจาก ISP ที่ใช้บริการ โดยหมุนหมายเลยไปยังผู้ให้บริการในต่างประเทศ ทำให้มีค่าโทรศัพท์ที่สูงขึ้นสำหรับคนที่อยากใช้คอมพิวเตอร์อย่างไม่มีปัญหา ก็ควรดูแลให้ถูกต้องตามขั้นตอน หลีกเลี่ยงพวกนี้ให้ไกล เพราะว่าไม่มีผลดีเลย

วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ปลดล็อค i-GENii ของ D-Max ให้ดูได้ขณะขับขี่

i-GENii - Genius Exploring Network Interactive Intelligence
เพื่อความปลอดภัย ตามมาตรฐานโรงงาน  จึงทำมาให้ไม่สามารถดูได้ขณะขับรถ








หากอยากให้กลับไปเป็นเหมือนเดิม ให้ไล่ย้อนขั้นตอนกลับไปได้เลย...

*** สำหรับเครื่องเล่นรุ่นอื่นก่จะคล้ายๆกัน คือมีสายเส้นนึกกำหนดให้ต่อไป
"เกียร์หรือเกี่ยวกับระบบขับขี่" ให้จั้มสายเส้นนี้ลงกราว กับตัวรถได้เลย.


Thanks: http://www.isuzu-society.com

ข่าวขอนแก่น